ศตวรรษที่ 21 ??
จากยุดเกษตรสู่ยุคอุตสาหกรรมมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า
"ยุคความรู้" ซึ่งในหนังสือ 21Th Century Skill Learning for Life in our
Times ได้ระบุบทบาทของการศึกษาไว้ว่า
1) เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
2) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตนเอง
3) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง
4) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจของโลกก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างรวดเร็วและน่าตกใจ
อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งผลตอบแทนจากเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม
และบริษัทที่มีนวัตกรรมจากทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ คนที่มีความรู้และทักษะในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่
ๆ เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ภาพจาก https://goo.gl/z1k3kC
จากกรณีของโรงเรียนและนักเรียนในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ปรับตัวตามสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
ทุกวันนี้ระบบการศึกษาของรัฐก็ไม่ได้เตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21
เช่นกัน พบว่าในระดับนานาชาตินักเรียนสหรัฐอเมริกา
ทำคะแนนได้น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme
for Internationnal Student Assessment :PISA)ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินการอ่าน
คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งการประเมินของ PISAใช้วัดทักษะเชิงประยุกต์
ซึ่งเรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการคิดวิพากษ์
และการแก้ไขปัญหา
แม้แต่นักเรียนอเมริกาที่เก่งที่สุดก็ไม่สามารถทำคะแนนจากการประเมินนี้ได้ดีเท่านักเรียนจากประเทศอื่นๆ
ที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
หากมองย้อนกลับมาดูผลการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ
(Programme for
Internationnal Student Assessment :PISA) ของเด็กนักเรียนไทยในปี 2012 ที่ผ่านมา พบว่าจาก 65
ประเทศเขตเศรษฐกิจที่เข้าแข่งไทยได้คะแนนโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 50 คณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ย OECD คะแนนมาตรฐานที่ 494 คะแนน ไทยได้ 427 คะแนน แต่เมื่อเทียบกับ PISA
2003-2009 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น การอ่าน ไทยมีคะแนนเฉลี่ย 441 แต่ก็มีสัญญาณบวกว่ามีคะแนนสูงกว่า PISA 2009
ส่วนวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 444 คะแนน และสูงกว่า PISA
2000 และ PISA 2009 คุณภาพการศึกษาไทยจึงยังห่างไกลจากความเลิศ
แม้ว่าทุกวิชามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OBCD เกือบหนึ่งระดับ[3]
เมื่อสหรัฐอเมริกาเองซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก
กำลังตระหนักว่าการศึกษากำลังมีปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของเขาในอนาคตอันใกล้
หากไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาหรือสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ซึ่งเป็นพลังที่จะความมั่งคั่งของประเทศ
ทักษะที่จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์การคิดวิพากษ์
และการแก้ไขปัญหากำลังเป็นที่ต้องการอย่างมา
ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อจัดการกับความท้าทายใหม่ที่กำลังเผชิญอยู่
จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น
เพื่อสร้างทักษะแห่งอนาคต สามารถเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ได้อย่างมั่นคง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
จึงน่าที่จะเป็นที่มาของคำตอบว่าทำไมเราต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน
เพื่อเตรียมคน เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
อ้างอิงจาก https://www.gotoknow.org/posts/587137
ไทยแลนด์ 4.0 ??
หลายท่านคงได้ยินกันบ่อยๆกับคำว่า
Thailand 4.0 แล้ว Thailand 4.0 คืออะไร
นโยบายนี้จะช่วยพัฒนาประเทศของเราได้อย่างไร มาทำความรู้จักกัน
Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย
ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม….ซึ่งกว่าจะมาเป็น Thailand 4.0 ก็ต้องผ่าน 1.0 2.0
และ 3.0 กันมาก่อน
Thailand 1.0
ก็คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่
นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ
Thailand 2.0
ซึ่งก็คือยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วย เราผลิตเสื้อผ้า
กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับเป็นต้น
ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น
Thailand 3.0
(ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน ) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า
รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมน เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก ในช่วงแรก Thailand 3.0
เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันกลับเติบโตเพียงแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น
ประเทศไทยจึงตกอยู่ช่วงรายได้ปานกลางมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
ในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เราจึงต้องเปลี่ยนสู่ยุค Thailand 4.0
เพื่อให้ประเทศไทยให้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง
ในปัจจุบันประเทศไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ
“ทำมาก
ได้น้อย” จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย
ได้มาก” ก็จะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
และเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วย ภาคอุตสาหกรรม
ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
อย่างการเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม
ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ
เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น
Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
เปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ
ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูง
เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง
โมเดลของ Thailand 4.0 นั่นคือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ซึ่งโมเดลนี้จะสำเร็จได้
ต้องใช้แนวทาง สานพลังประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ธนาคาร
ประชาชน สถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ประกอบกับการส่งเสริม SME และ
Startup เพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
พร้อมต้องมีโครงสร้างด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ
มีอินเตอร์เน็ตที่คลอบคลุมประชากรมากที่สุด
เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนได้อย่างไม่สะดุด
โครงสร้างของ ICT ก็จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ
เราจะก้าวข้ามผ่านกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง ในยุค Thailand 4.0 ได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายให้ได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.it24hrs.com/2017/thailand-4-0/
ʕ·ᴥ· ʔ
ตอบลบ