ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Week9

สัปดาห์ที่ 1
ลักษณะของกิจกรรม
1. เรียนรู้การสร้าง Blog ของตนเอง ในการแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
2. รู้ประโยชน์ของ Google และการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ
3. ได้เรียนรู้การสร้าง mind map จาก Application ใน Google web store
4. ได้เรียนรู้วิธีการ Capture Screen ผ่านโปรแกรม Snipping Tool
ทักษะ
1. ได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกความกล้าแสดงออก
2. ได้ฝึกษะการใช้โปรแกรมต่างๆ ในระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Snipping Tool
3. ได้ฝึกทักษะการคิดออกแบบ การทำ my mipping โดยใช้แอพพลิเคชั่นใน Google Appication
4. ได้ฝึกทักษะความเพียรพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการผลิตสิ่งต่างๆ ให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์แบบ
5. ได้ฝึกสร้างบล็อกของตนเอง โดยใช้ Blog ซึ่งคือเว็บไซต์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเพจ หรือส่วนตัวของแต่ละบุคคล บนโลกอินเทอร์เน็ต
ผลการเรียนรู้
จากการได้เรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาในสัปดาห์ที่ 1 ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านระบบปฎิบัติการ Windows การท่องโลกอินเทอร์เน็ตในการใช้ Google แค่ตัวเดียว สามารถแตกความรู้ได้หลากหลาย ได้ใช้แอพพลิเคชั่นผ่านเว็บ Google ที่นอกจากใช้เพียง E-mail ,ใช้ค้นหาความรู้ แต่ยังสามารถสร้างเว็บไซต์ พิมพ์เอกสาร ได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
 ...........................................................................................................................................................................................
 สัปดาห์ที่ 2  
ลักษณะของกิจกรรม
1. การทำกิจกรรม infographic โดยใช้นวัตกรรมเมื่อไม่มีเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เป็นการทำ infographic โดยใช้มือ
2. รายงานการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับเรื่อง เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญอย่างไร ?
3. ออกข้อสอบ จากที่เพื่อนๆรายงานตามหัวข้อต่างๆ เพื่อนำมาทำเป็นข้อสอบออนไลน์ ใน สัปดาห์ ถัดไป
4. เลือกแอพลิเคชั่นของเพื่อนๆในกลุ่ม ออกมาทำ เป็น infographic ที่ทำให้ข้าใจง่ายขึ้น 
ทักษะ
1. สามารถทำกิจกรรม Infographic โดยใช้นวัตกรรมเมื่อไม่มีเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต เป็นการทำ Infographic ได้เรียนรู้รู้ออกแบบชิ้นงาน เมื่อมีชิ้นงานที่หลากหลาย จะสามารถนำมารวบรวมอยู่ในงานเดียวกันได้อย่างลงตัว โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี แต่เราสามารถใช้มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ออกแบบกิจกรรมได้
2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่าง ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกแบบข้อสอบได้ และสามารถนำไปสร้างข้อสอบออนไลน์ได้หลากหลายรูปแบบ
3. ได้ทราบและเข้าใจถึงบทความวิชาการต่าง ๆ ที่จะต้องทำว่ามีขอบเขตเนื้อหาอะไรบ้าง และสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการสอนได้อย่างไร
ผลการเรียนรู้
ในสัปดาห์ที่ 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ความเป็นมา ความสำคัญของเทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยที่เพื่อนๆ นำเสนอ และได้ออกแบบข้อสอบจากสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอ ในแต่ละหัวข้อ ได้เรียนรู้การใช้นวัตกรรม infographic โดยไม่ใช้นวัตกรรม คือการสร้างสรรค์กิจกรรมด้วยสองมือของเรานั่นเอง 
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 3  
ลักษณะของกิจกรรม
1. การออกแบบ site ที่เป็นเว็บไซต์ขนาดย่อมๆของตนเอง โดยมีความต่างกับ Blog ก็คือ เข้าไปแสดงความคิดเห็นไม่ได้
2. การออกแบบข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ Google form ซึ่งประโยชน์ของมัน ยังมีอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม หรือ การเลือกรายการต่างๆ
3. การเพิ่มบุ๊กมาร์กแอพพลิเคชั่น ลงไปในหน้า Chrome ของเรา
4. เทคนิคการตกแต่งและออกแบบการทำ Site โดยใช้เมนูการตกแต่งต่างๆ
ทักษะ
1. สามารถทำออกแบบ Google site ของตนเองได้ และเห็นข้อแตกต่างระหว่าง Blog กับ Google site
2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ Google form
3. สามารถใช้บุ๊คมาร์ก แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาของตนได้
ผลการเรียนรู้
จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 3 ได้เรียนรู้การสร้าง Google site ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของ Google ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานต่างๆ สร้างเว็บไซต์ของตนเอง หรือองค์กรได้ Google site ใหม่ มีความแตกต่างกับ Google site เดิม อย่างเห็นได้ชัด เพราะไม่ยุ่งยากสามารถใส่ข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น 
การออกแบบข้อสอบโดยใช้ Google form ที่สามารถออกแบบข้อสอบออนไลน์ได้สะดวก และป้องกันการลอกกันของนักเรียน นักศึกษาได้ และได้ทราบถึงคะแนนสอบที่ไม่ต้องใช้การคำนวณและตรวจข้อสอบให้ยุ่งยาก
การใช้บุ๊คมาร์กของแอพพลิเคชั่นใน Google Chrome เพื่ออำนวยความสะดวกในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และอีกทั้งยังได้ทราบถึงแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนของเราอีกด้วย
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 4
ลักษณะของกิจกรรม
1. การสร้าง และออกแบบ Infographic ด้วย www.canva.com  โดยวิทยากรภายนอก (อาจารย์ปู)
2. การสร้าง E-Book ด้วย  Microsoft Power Point โดยวิทยากร
3. ออกแบบ Infographic ของตนเอง ในหัวข้อ “หน้าฝนนี้ เที่ยวที่ไหน
4. ออกแบบ E-Book ของตนเอง โดยนำข้อมูล เนื้อหา และบทเรียนของรายวิชาตนเอง
ทักษะ
1. มีทักษะความรู้ในเรื่องของ Infographic และการใช้แอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมต่างๆ ที่สามารถออกแบบ Infographic ของตนเอง
2. ได้เรียนรู้การออกแบบ การตกแต่งสีสันในภาพ การไล่สีตัวอักษรให้เหมาะกับภาพพื้นหลัง
3. เพิ่มทักษะการสร้าง Infographic โดยอาศัย ADDIE เข้ามาช่วย
4. มีความรู้เรื่องการสร้าง E-Book ในการจัดการเรียนการสอน
ผลการเรียนรู้ 
สามารถนำผลการเรียนรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากับรายวิชาของตนเองได้ และมีความรู้ในเรื่องการออกแบบ การมีความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ของตนเอง เป็นการเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างมาก
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 5
ลักษณะของกิจกรรม
1. ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับครูในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่ควรมีในศตวรรษที่ 21
2. ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 ในด้านการพัฒนาการศึกษา
ทักษะ
1. เรียนรู้ความสำคัญของครูในศตวรรษที่ 21 และ ไทยแลนด์ 4.0
2. ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มและจัดทำ Infographic
ผลการเรียนรู้ 
1. จัดทำแผนผังความคิดในรูปแบบ Infographic เรื่อง การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
2. มีความรู้เรื่องการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับทักษะต่างๆ และสามารถนำทฤษฎีของบลูม ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 6
ลักษณะของกิจกรรม
1. การจัดทำสื่อ และการประเมินสื่อ
2. นำเสนอหัวข้องานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อไปปรับใช้ในโรงเรียน
ทักษะ
1. ความรู้เรื่องการประเมินสื่อ
2. ความเข้าใจในการใช้สูตร และวิธีการต่างๆ ในการประเมิน
3. การคิดหัวข้อวิจัยในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
ผลการเรียนรู้ 
1. มีความรู้ความเข้ามากขึ้นในการจัดทำสื่อ และการประเมินสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่ใช้สื่อ
2. ได้นำหัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ปรึกษาอาจารย์ เพื่อจัดทำวิจัยในชั้นเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ได้รู้ข้อดีข้อเสียต่างๆ เมื่อทำการวิจัยแล้วนำสื่อที่เกี่ยวข้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และนำมาแก้ไขแ    ละ             ปรับใช้ต่อไป
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 7
ลักษณะของกิจกรรม
1. เรียนรู้ 10 เทคโนโลยีที่จะมาเป็นหัวใจของธุรกิจองค์กรปี 2017 โดย GARTNER
2. เลือก 1 ในหัวข้อเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการสอนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. บอกถึงข้อดี ข้อเสีย ของเทคโนโลยีที่นำเสนอ
4. เลือก PL (Personal Learning) ในส่วนของแอพลิเคชันบนมือถือ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนได้ และจัดทำเป็นแผนผังความคิดตามความเข้าใจของตนเอง
ทักษะ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้แอพลิเคชันต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนได้
2. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้แอพลิเคชันของเพื่อนๆ
3. ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ 10 เทคโนโลยีที่จะมาเป็นหัวใจของธุรกิจองค์กรปี 2017 โดย GARTNER
ผลการเรียนรู้ 
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในปี 2017 เป็นการกระตุ้นความสนใจในการที่จะอยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในเรื่องที่สนใจและเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น การใช้ VR ในการจัดการสอน การใช้แอพลิเคชัน ที่แปลกใหม่ สามารถนำไปสอนนักเรียนได้ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนทำให้ครูและนักเรียนเกิดทักษะใหม่ๆ มากมาย เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
 ...........................................................................................................................................................................................
สัปดาห์ที่ 8
ลักษณะของกิจกรรม
นักศึกษานำเสนอนวัตกรรม ที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเอง
ทักษะ
การได้รับความรู้ ทักษะ และการนำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ผลการเรียนรู้ 

ได้เรียนรู้การใช้นวัตกรรมที่แปลกใหม่ ของเพื่อนๆ เช่น Google site ในการจัดการเรียนการสอน การสอดแทรกความรู้ต่างๆ ลงใน site การใช้ E-Book การใช้ Power Point การใช้ Blog เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น และสามารถนำมาจัดทำเป็นนวัตกรรมของตนเองได้ อีกทั้ง เพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบท หรือรายวิชาของตนเองได้อีกเช่นกัน
 ...........................................................................................................................................................................................

Week8


การนำเสนอสื่อนวัตกรรม
เป็นการนำเสนอสื่อนวัตกรรมของตนเอง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ในรายวิชาที่ตนเองสอน ซึ่งเพื่อนๆ ป.บัณฑิต กลุ่มที่ 3 ต่างตั้งใจนำเสนอและทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว

1. นายปรัชญา แสงทอง  สือการสอนภาษาจีน
2.  นางสาวภนัชกร   สำเภา  สื่อการสอน ภาษาอังกฤษ
 3.  นางสาวชลดา  สันเทียะหมื่นไวย สื่อการสอน e-book อนุบาล
 4. นางสาวจิตจุฑา       โทแหล่ง   สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
5. นายภราดร  เซ่งฉั่น สื่อการสอน งานส่งกำลังรถยนต์ เรื่องงานเฟืองท้ายรถยนต์
6. นางสาวบุษราคัม กำพุฒกลาง  สื่อการสอน วิทยาศาสตร์

7.นางสาวพัชราวรรณ สิงห์สวัสดิ์ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ
8.นางสาวเพชรรัตน์  มงคลพัฒนจินดา   สื่อการสอน วิจัย
9.นางสาวยุภาการ เฉลิมพล สื่อการสอน ภาษาอังกฤษ
10.นางสาวศิรินภา ฝาไธสง  สื่อการสอนภาษอังกฤษ
11.นายเกียรติศักดิ์ หาญสันเทียะ   ภาษาอังกฤษ


Week7


สืบค้นข้อมูลออนไลน์จาก
คำศัพท์     
1. Technology = กลวิธีในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาทำให้การท างานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่นนำ
คอมพิวเตอร์มาใช้ ซึ่งจะช่วยทำให้ได้ผลเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Internet = เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด
3. Graphic = ศิลปะแขนงซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ
การ์ตูน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้องมูลให้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
4. Learning = การเรียนรู้
5. Computer Aided Design = การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
6. Research = ค้นหว้าหาความรู้, วิจัย, สืบเสาะ
7. Multimedia = สื่อประสม, สื่อหลายแบบ คือ การใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทร่วมกันเช่นสื่อการสอนที่
มีการนำเสนอด้วยภาพและเสียง พร้อมทั้งมีคำอธิบายด้วย
8. Application Software = เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
เฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน
9. Information = สารสนเทศ ได้แก่ข้อมูลที่นำมาแปลความหมายแล้ว เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จาก
ข้อมูล หลังจากที่ได้ประมวลผลข้อมูลนั้นๆ แล้ว
10. Development = การพัฒนา
11. Presentation = การนำเสนอ
12. Innovation = นวัตกรรม
13. Capabilities = ความสามารถ
14. Knowledge = ความรู้
15. Study = การศึกษา, การวิเคราะห์

Week6

สื่อการสอน
ประเภทของสื่อการสอน และการเลือกใช้
สื่อการสอนมีหลายประเภท  และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน  สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 71-72)  จำแนกประเภทของสื่อได้เป็น  6  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี้
1.  สื่อสิ่งพิมพ์
มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง  เช่น  หนังสือเรียน  คู่มือครู  แผนการเรียนรู้  หนังสืออ้างอิง  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  แบบฝึกกิจกรรม  ใบงาน  ใบความรู้  ฯลฯ  และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้  เช่น  วารสาร  นิตยสาร  จุลสาร  หนังสือพิมพ์  จดหมายข่าว  โปสเตอร์   แผ่นพับ  แผ่นภาพ  เป็นต้น
2.  สื่อบุคคล 
หมายถึง  ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้  แนวคิด  และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น  นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ  โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน  สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา  เช่น  ผู้บริหาร  ครู  บุคลากรทางการศึกษา  คนทำอาหาร  หรือตัวนักเรียนเอง  หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 
3.  สื่อวัสดุ 
เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง  จำแนกออกเป็น 2  ลักษณะ  คือ
3.1  วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น  รูปภาพ  หุ่นจำลอง  เป็นต้น
3.2  วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปบันทึกเสียง  ซีดีรอม  แผ่นดิสก์  เป็นต้น
4. สื่ออุปกรณ์
หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
5.  สื่อบริบท
เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน  ได้แก่  สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการ  แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  ห้องสมุด  หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต  เช่น  พืชผัก  ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว  ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น
6.  สื่อกิจกรรม
เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน ได้แก่ การแสดงละคร  บทบาทสมมติ  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ  การไปทัศนศึกษานอกสถานที่  การทำโครงงาน
การประเมินสื่อการเรียนการสอน
โดยท่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ "อาจารย์ชวลิต เกตุกระทุ่ม"
วิธีประเมินผลสื่อการสอน
1. การประเมินผลโดยผู้สอน ประสบการณ์มีความชำนาญให้คนในแผนกเดียวกันประเมินกันสื่อการสอน
                1) เป็นไปได้
                2) เที่ยงตรง
                3) มีประสิทธิภาพ วัดที่กระบวนการ ประสิทธิผลวัดที่ output
                4) มีประโยชน์
2. การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ  ด้านการสร้างสื่อ การวัดผล ด้านเนื้อหา ในการประเมินนั้นคนในแผนกร่วมกันผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ เช่น
                1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (อยู่ในสาขาเทคโนโลยี)
                2) ด้านวัดผล
3) ด้านเนื้อหา :: ในการวัดเนื้อหาต้องมีการวัดค่าคะแนนเฉลี่ย 0.75
 (ค่าความเชื่อมั่นของสื่อ)  แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสื่อที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์
        3. การประเมินผลโดยผู้เรียน ใช้แบบประเมินเพื่อประเมินผลสื่อจะต้องประเมินผลทันทีหลังจากใช้สื่อนั้นให้ผู้เรียนประเมินเฉพาะสื่อ ไม่เกี่ยวกับความสามารถของผู้สอนแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณค่าของการประเมินสื่อขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้นั้น
การใช้ผลคะแนนเพื่อประเมินสื่อ
การหาประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยใช้เกณฑ์ E1/E2




Week9

สัปดาห์ที่   1 ลักษณะของกิจกรรม 1.  เรียนรู้การสร้าง  Blog  ของตนเอง ในการแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 2.  รู้ประโยชน์ของ  Google  และกา...